สภาพทางสังคม |
|
|
|
การศึกษา |
|
|
โรงเรียนประถมศึกษา |
จำนวน
|
1
|
แห่ง
|
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก |
จำนวน
|
1
|
แห่ง
|
ระบบเสียงตามสาย |
จำนวน
|
8
|
แห่ง
|
ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยี |
จำนวน
|
1
|
แห่ง
|
ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน/ห้องสมุดประชาชน |
จำนวน
|
3
|
แห่ง
|
|
|
|
|
|
สถาบันและองค์กรศาสนา |
|
|
วัด/สำนักสงฆ์ |
จำนวน
|
3
|
แห่ง
|
ศาลเจ้า |
จำนวน
|
1
|
แห่ง
|
|
|
|
|
|
การสาธารณสุข |
|
|
สถานีอนามัยประจำตำบล/หมู่บ้าน |
จำนวน
|
1
|
แห่ง
|
สถานพยาบาลเอกชน |
จำนวน
|
2
|
แห่ง
|
ร้านขายยาแผนปัจจุบัน |
จำนวน
|
3
|
แห่ง
|
อัตราการใช้ส้วมซึม |
จำนวน
|
100
|
เปอร์เซนต์
|
|
|
|
|
|
ขนบธรรมเนียมประเพณี พิธีกรรม |
|
|
ประเพณีวันเข้าพรรษา เดือน 8 ประชาชนโดยเฉพาะผู้ปกครองที่มีบุตรชายที่มีอายุเข้าเกณฑ์ อุปสมบทจะนำบุตรไปบวชที่ วัดในท้องถิ่นหรือวัดใกล้เคียง เพื่อเป็นการตอบแทนบุญคุณพ่อแม่อย่างน้อย 1 พรรษา บางครอบครัวผู้หญิงที่บนบานเอาไว้จะบวช (ชี) แก้บนหรือบวชด้วยศรัทธา 3 วัน 5 วัน ก็จะถือโอกาสบวชถือศีล ในช่วง นี้
|
|
|
ประเพณีวัดสารท เดือน 10 ถือปฏิบัติด้วยศรัทธามาแต่ดึกดำบรรพ์ โดยถือคติว่าปลายเดือน 10 ของแต่ละปี เป็นระยะที่พืชพันธุ์ธัญญาหารในท้องถิ่นออกผลในช่วงที่ชาวเมือง ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นเกษตรกรชื่นชมยินดี ช่วงหนึ่งพุทธศาสนิกชนในท้องถิ่นนิยมนำขนมพอง ลา ไปทำบุญบังสกุล ตามพิธีทางพุทธศาสนา อุทิศส่วนกุศลไปให้พ่อแม่ ปู่ย่า ตา ยาย พี่น้อง ลูกหลานที่ล่วงลับไปแล้ว ลูกหลานญาติพี่น้องที่ไปอยู่ที่อื่นจะพากันกลับบ้านเพื่อทำบุญร่วมกันถือเป็นวันรวมญาติ โดยเฉพาะจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นจังหวัดเดียวในประเทศไทยที่จัดงานเดือน 10 ยิ่งใหญ่ที่สุด |
|
|
ประเพณีลอยกระทง (วันเพ็ญเดือน 12 ) บางแห่งเรียกว่าลอยโคม มีการจัดดอกไม้ ธูปเทียน ตัดผม ตัดเล็บมือ เล็บเท้าและสตางค์ใส่ลงในกระทง หรือแพหลายรูปแบบลงลอยน้ำ เชื่อกันว่าถ้ากระทงลอยไปไกลชีวิตจะราบรื่น ถ้ากระทงคว่ำเชื่อว่าเป็นว่าเป็นสิ่งไม่ดี วัฒนธรรมและประเพณีที่เปลี่ยนแปลงไปหรือขาดการสืบทอด วัฒนธรรมและประเพณีในชุมชนมีมากมายหลายอย่าง บางอย่างสามารถอนุรักษ์ให้สืบทอดต่อๆกันมาได้ แต่บางอย่างขาดการสืบทอด การเปลี่ยนแปลงและขาดหายไป ด้วยเหตุบ้านเมืองเจริญขึ้นและทันสมัยมีการใช้วัสดุสำเร็จรูปกลายเป็นเรื่องของเศรษฐกิจไป ประเพณีต่างๆ ที่ขาดการสืบทอดเช่น - การเล่นสะบ้าในวันสงกรานต์ - กาหลอในงานศพ - รำโทนต่างๆ - การว่าเพลงบอกในเทศกาลสงกรานต์ - มโนราห์โรงครู - การก่อเจดีย์ทราย - การทำขวัญข้าว - การไถนาด้วยวัว ควาย
|
|
|
|
|
การตั้งถิ่นฐานบ้านเรือน |
|
|
รูปแบบดั้งเดิม |
|
|
เป็นกลุ่มบ้านเรือนที่อยู่ชิดติดกันหลายๆหลัง ส่วนใหญ่เป็นบ้านเครือญาติ ลักษณะบ้านเรือนเป็นเรือนไม้ใต้ถุนสูง ปูด้วยกระดานหรือฟาก กั้นด้วยไม้หรือจาก มุงด้วยกระเบื้องดินเผา หรือกระเบื้องซีเมนต์หรือมุงด้วยจากตามมาตรฐานของครอบครัว |
|
|
รูปแบบใหม่ |
|
|
กลุ่มบ้านเริ่มกระจัดกระจายไปอยู่ในพื้นที่เศรษฐกิจและใกล้เส้นทางคมนาคมเป็นบ้านสองชั้น ชั้นล่างก่ออิฐถือปูน ชั้นบนเป็นบ้านไม้ และบ้านชั้นเดียวก่ออิฐถือปูนทั้งหลัง ส่วนใหญ่มุงกระเบื้องลอนทั้งนั้น |
|
|
วัฒนธรรมและประเพณีที่ดำรงรักษาไว้หรืออนุรักษ์ฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ |
|
|
วัฒนธรรมและประเพณีของท้องถิ่นในชุมชน โดยเฉพาะตำบลดอนตรอ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช ชุมชนเห็นความสำคัญเกี่ยวกับวัฒนธรรม และประเพณีเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละชุมชน และเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ ถือเป็นทุนทางสังคมที่สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนตำบลดอนตรอ ตระหนักถึงเรื่องนี้อยู่เสมอ จึงได้จัดให้มีกิจกรรมต่างๆเกี่ยวกับวัฒนธรรมและประเพณีโดยตลอด ดังนี้ |
|
|
ประเพณีวันขึ้นปีใหม่ กลุ่มชนในเขตตำบลดอนตรอ นิยมไปทำบุญตักบาตรที่วัด หรือจุดนัดหมายและร่วมจัดงานรื่นเริงต่างๆเพื่อความสุข ความเป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว |
|
|
ประเพณีวันมาฆบูชา (วันเพ็ญเดือน 3) พุทธศาสนิกชนในเขตตำบลดอนตรอ จะนำดอกไม้ธูปเทียนไปเวียนเทียนที่วัดโดยพร้อมเพรียงกัน |
|
|
ประเพณีวันสงกรานต์เดือน 5 ชาวบ้านเรียกกันว่า “วันว่าง” ถือเป็นวันกตัญญูผู้สูงอายุ ผู้มีพระคุณ ผู้ที่เราเคารพนับถือ ถือเป็นวันปีใหม่ของไทย นิยมไปอาบน้ำและรดน้ำดำหัวขอพรจากผู้ใหญ่ มอบของขวัญ ทำบุญเลี้ยงพระ จำเริญอายุผู้สูงอายุ และเล่นสาดน้ำสงกรานต์ของพวกหนุ่มสาวเป็นการสนุกสนานวันหนึ่งด้วย |
|
|
ประเพณีวันวิสาขบูชา (วันเพ็ญเดือน 6) พุทธศาสนิกชนนิยมนำดอกไม้ธูปเทียนไปเวียนเทียนที่วัดและประเพณีอีกอย่างหนึ่ง คือประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุเป็นประเพณีสืบทอดกันมาช้านานโดยพุทธศาสนิกชนร่วมกันจัดผ้าขาว ผ้าเหลือง ผ้าแดง แล้วแห่แหนช่วยกันจับชายผ้าเดินตามถนนเป็นขบวนนำเข้าสู่วัดพระธาตุ แล้วเอาผ้าโอบฐานเจดีย์พระบรมธาตุ ประชาชนในอำเภอเฉลิมพระเกียรติ โดยเฉพาะผู้เฒ่าผู้แก่ในตำบลดอนตรอจะเข้าร่วมขบวนแห่เป็นประจำทุกปี |
|
|
ระบบการช่วยเหลือกัน ในท้องถิ่นตำบลดอนตรอ มีธรรมเนียมหลายอย่างแสดงออกถึงความมีน้ำใจช่วยเหลือกัน เพราะสภาพความเป็นอยู่เต็มไปด้วยการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เมื่อบ้านผู้ใดตกทุกข์ได้ยากก็มักจะเกื้อกูลให้ความช่วยเหลือทุกวิถีทางไม่ทอดทิ้งให้ฝ่าฟัน อุปสรรคด้วยตนเองอย่างโดดเดี่ยว กิจกรรมในระบบนี้จะเป็นไปในรูปของการไหว้วานหรือออกปาก คล้ายคลึงกับการลงแขกของภาคกลาง เช่น ออกปากไถนา ออกปากดำนา ออกปากเกี่ยวข้าว และออกปากหามเรือน เป็นต้น
|
|
|
|
|
|
|